จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีพบว่า บริเวณพื้นที่ ที่เป็นจังหวัดอุดรธานีในปัจจุบัน เคยเป็นถิ่นที่อยู่ของมนุษย์มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ประมาณ 5,000-7,000 ปี จากหลักฐานการค้นพบที่บ้านเชียงอำเภอหนองหานและภาพเขียนสีบนผนังถำที่อำเภอบ้านผือ เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นเป็นอย่างดีจนเป็นที่ยอมรับนับถือในวงการศึกษาประวัติศาสตร์ และโบราณคดีระหว่างประเทศว่าชุมชนที่เป็นถิ่นที่อยู่ของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ที่จังหวัดอุดรธานี มีอารยธรรมความเจริญในระดับสูง และอาจถ่ายทอดความเจริญนี้ไปสู่ประเทศจีนก็อาจเป็นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องปั้นดินเผาสีลายเส้นที่บ้านเชียงนั้นสันนิฐานว่าอาจเป็นเครื่องปั้นดินเผาสีลายที่เก่าที่สุดของโลก
หลังจากยุคความเจริญที่บ้านเชียงแล้ว พื้นที่ที่เป็นจังหวัดอุดรธานี ก็ยังคงเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์สืบต่อมาอีกจนกระทั่งสมัยประวัติศาสตร์ของประเทศไทย นังตั้งแต่สมัยทวาราวดี (พ.ศ.1200-1600) สมัยลพบุลี (พ.ศ.1200-1800) และสมัยสุโขทัย (พ.ศ.1800-2000) จากหลักฐานที่พบคือใบเสมาสมัยทวาราวดีลพบุรี และภาพเขียนปูนบนผนังโบสถ์ที่ปรักหักพังบริเวณเทือกเขาภูพานใกล้วัดพระพุทธบาทบัวบกอำเภอบ้านผือ แต่ทั้งนี้ยังไม่ปรากฎหลักฐานชื่อ จังหวัดอุดรธานีปรากฎในประวัติศาสตร์แต่อย่างใด
ต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีพื้นที่ที่จังหวัดอุดรธานีปรากฎในประวัติศาสตร์ เมื่อราวปีจอ พ.ศ.2117 พระเจ้ากรุงหงสาวดีได้ทรงเกณฑ์ทัพไทยให้ไปช่วยตีกรุงศรีสัตนาคนหุต (เวียงจันทน์) โดยให้สมเด็จพระมหาธรรมราชากับสมเด็จพระนเรศวรมหาราชยกทัพไปช่วยรบ แต่เมื่อกองทัพไทยมาถึงเมืองหนองบัวลำภูซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านของเมืองเวียงจันทน์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชประชวรด้วยไข้ทรพิษจึงยกทัพกลับไม่ต้องรบพุ่งกับเวียงจันทน์และเมืองหนองบัวลำภูนี้เองสันนิษฐานว่าเคยเป็นเมืองที่มีความเจริญมาตั้งแต่สมัยขอมเรืองอำนาจ
ต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีพื้นที่ที่จังหวัดอุดรธานีปรากฎในประวัติศาสตร์ เมื่อราวปีจอ พ.ศ.2117 พระเจ้ากรุงหงสาวดีได้ทรงเกณฑ์ทัพไทยให้ไปช่วยตีกรุงศรีสัตนาคนหุต (เวียงจันทน์) โดยให้สมเด็จพระมหาธรรมราชากับสมเด็จพระนเรศวรมหาราชยกทัพไปช่วยรบ แต่เมื่อกองทัพไทยมาถึงเมืองหนองบัวลำภูซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านของเมืองเวียงจันทน์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชประชวรด้วยไข้ทรพิษจึงยกทัพกลับไม่ต้องรบพุ่งกับเวียงจันทน์และเมืองหนองบัวลำภูนี้เองสันนิษฐานว่าเคยเป็นเมืองที่มีความเจริญมาตั้งแต่สมัยขอมเรืองอำนาจ
ในสมัยกรุงรัตนโกสินเป็นราชธานีนั้น จังหวัดอุดรธานีได้เกี่ยวข้องกับการศึกสงครามกล่าวคือในระหว่าง พ.ศ.2369- 2371 ได้เกิดกบฎเจ้าอนุวงศ์ยกทัพเข้ามายึดเมืองนครราชสีมา ซึ่งมีผู้นำคือคุณหญิงโม(ท้าวสุรนารี) กองทัพเจ้าอนุวงศ์ได้ถอยทัพมาตั้งรับที่เมืองหนองบัวลำภู และได้ต่อสู้กับกองทัพไทยและชาวเมืองหนองบัวลำภูจนทัพเจ้าอนุวงส์แตกพ่ายไป กระทั่งในปลายสมัยสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่4 ประมาณ พ.ศ.2411 ได้เกิดความวุ่นวายขึ้นในมณฑลลาวพวน เนื่องมาจากพวกฮ่อซึ่งกองทัพไทยได้ยกขึ้นไปปราบปรามจนสงบได้ชั่วคราว
ในปี พ.ศ. 2428 สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พวกฮ่อได้รวมตัวก่อการร้าย กำเริบเสิบสานขึ้นอีกในมณฑลลาวพวนฝั่วซ้ายแมน้ำโขงและมีท่าทีจะรุนแรง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม เป็นแม่ทัพใหญ่ฝ่ายใต้ และเจ้าหมื่นไวยวรนาถเป็นแม่ทัพใหญ่ฝ่ายเหนือไปทำการปราบปรามพวกฮ่อ ในเวลานั้นเมืองอุดรธานียังไม่ปรากฎชื่อเพียงแต่ปรากฎชื่อบ้านหมากแข้งหรือบ้านเดื่อหมากแข้ง สังกัดเมืองหนองคายขึ้นการปกครองกับมณทลลาวพวน และกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคมแม่ทัพใหญ่ฝ่ายใต้เดินทัพผ่านบ้านหมากแข้ง ไปทำการปราบปรามพวกฮ่อจนสงบ
ภายหลังการปราบปรามฮ่อสงบแล้วไทยมีกรณีพิพาทกับฝรั่งเศส เนื่องจากฝรั่งเศสต้องการลาว เขมร ญวณ เป็นอาณานิคม เรียกว่า "กรณีพิพาท ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436)" ด้วยพระปรีชาญาณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงยอมเสียสละส่วนน้อยเพื่อรักษาประเทศไว้ จึงทรงสละดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้แก่ฝรั่งเศส และตามสนธิสัญญาที่ทำขึ้นระหว่าง 2 ประเทศ มีเงื่อนไขห้ามประเทศสยามตั้งกองทหารและป้อมปราการอยู่ในรัศมี 25 กิโลเมตร ของฝั่งแม่น้ำโขง
ดังนั้น หน่วยทหารไทยที่ตั้งประอยู่ที่เมืองหนองคาย อันเป็นเมืองศูนย์กลางของหัวเมือง หรือมณฑลลาวพวน ซึ่งมีกรมหมื่นประจักษ์สิลปาคมเป็นข้าหลวงใหญ่สำเร็จราชการ จำต้องอพยพเคลื่อนย้ายลึกเข้ามาจนถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่งชื่อบ้านเดื่อหมากแข้ง (ซึ่งเป็นที่ตั้งจังหวัดอะดรธานีปัจจุบัน) ห่างจากฝั่งแม่น้ำโขงกว่า 50 กิโลเมตร เมื่อทรงพิจารณาเห็นว่าหมู่บ้านแห่งนี้มีชัยภูมิเหมาะสม เพราะมีแหล่งน้ำดี เช่น หนองนาเกลือ (หนองประจัก์ ปัจจุบัน) และหนองน้ำพกหลายแห่ง ราวทั้งห้วยหมากแข้ง ซึ่งเป็นลำห้วยน้ำใสไหลเย็น กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม ทรงบัญชาให้ตั้งศูนย์มณฑลลาวพวน และตั้งกองทหารขึ้น ณ หมู่บ้านเดื่อหมากแข้ง จึงพอเห็นได้ว่าเมืองอุดรธานีได้อุบัติขึ้นโดยบังเอิญ เพราะเหตุผลทางการเมืองระหว่างประเทศยิ่งกว่าเหตุทางการค้า การคมนาคมหรือเหตุผลอื่น ดังเช่นหัวเมืองสำคัญต่างๆ ในอดีต
อย่างไรก็ตามว่า "อุดร" มาปรากฎชื่อเมือง พ.ศ.2450 (พิธีตั้งเมืองอุดรธานี 1 เมษายน ร.ศ. 127 พ.ศ. 2450 โดยพระยาศรีสุริยราช วรานุวัตร "โพธิ์ เนติโพธิ์") พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีกระแสพระบรมราชโองการให้จัดตั้งเมืองอุดรธานีขึ้นที่บ้านหมากแข้งอยู่ในการปกครองของมณฑลอุดร
หลังการเปลื่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2475 แล้วได้มีการปรับปรุงระเบียบการบริหารราชการแผ่นดิน ยกเลิกการปกครองในระบบมณฑลในส่วนภูมิภาคยังคงเหลือเฉพาะจังหวัดและอำเภอเท่านั้นมณฑลอุดรจึงถูกยุบเลิกไปเหลือเพียงจังหวัด "อุดรธานี" เท่านั้น
หลังการเปลื่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2475 แล้วได้มีการปรับปรุงระเบียบการบริหารราชการแผ่นดิน ยกเลิกการปกครองในระบบมณฑลในส่วนภูมิภาคยังคงเหลือเฉพาะจังหวัดและอำเภอเท่านั้นมณฑลอุดรจึงถูกยุบเลิกไปเหลือเพียงจังหวัด "อุดรธานี" เท่านั้น
ความหมายของตราประจำจังหวัด :ตราประจำจังหวัดอุดรธานี เป็นรูปท้าวเวสสุวัณหรือท้าวกุเวร เป็นพญายักษ์ถือกระบองซึ่งเป็นท้าวโลกบาล ผู้คุ้มครองรักษาโลกประจำอยู่ทิศเหนือหรือทิศอุดร จังหวัดอุดรธานีจึงได้ใช้รูปท้าวเวสุวัณเป็นตราประจำจังหวัด โดยกรมศิลปากรเป็นผู้ออกแบบเมื่อ พ.ศ.2483
ธงประจำจังหวัดอุดรธานี : เป็นธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีแสด มีรูปท้าวเวสสุวัณซึ่งเป็นดวงตราประจำจังหวัดอยู่กลางผืนธง
ต้นไม้ประจำจังหวัดอุดรธานี คือ ต้นทองกวาวหรือต้นจาน เป็นไม้ยืนต้นผลีดใบสูง 8 - 15 เมตรดอกใหญ่รูปดอกถั่ว สีแสด จะออกดอกในช่วงเดือน มกราคม - มีนาคม
พันธู์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัด คือ ต้นรังหรือต้นฮัง เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง 15 - 20 เมตร ใบรูปไขา ดอกสีเหลือง มีกลิ่นหอม ออกดอกในช่วงเดือน มีนาคม - เมษายน
อุดรธานี ตั้งอยู่บนที่ราบสูง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของประเทศไทย เป็นดินแดน ที่มีอารยธรรมเก่าแก่แห่งหนึ่ง ของโลก จ.อุดรธานีตั้งอยู่บนเส้นรุ้งที่ 17 อาศาเหนือ เส้นแวงที่ 103 องศาตะวันออก อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของ ประเทศไทยห่างจาก กทม. ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 ระยะทางประมาณ 562 ก.ม.
อุดรธานี ห่างจากกรุงเทพฯ ๕๖๔ กิโลเมตร มีพื้นที่ ๑๑,๗๓๐.๓ ตารางกิโลเมตร
จ.อุดรธานี มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 11,780.30 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 7.362 ล้านไร่ เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ มากเป็นอันดับ 4 ใน 19 จังหวัด ของภาคอิสาน รองจาก จ.นครราชสีมา,อุบลราชธานีและชัยภูมิ จ.อุดรธานี แบ่งการปกครอง ออกเป็น ๑๘ อำเภอ และ ๒ กิ่งอำเภอ คือ
อำเภอเมืองอุดรธานี อำเภอกุมภวาปี อำเภอหนองหาน อำเภอบ้านดุง อำเภอบ้านผือ อำเภอเพ็ญ อำเภอศรีธาตุ อำเภอน้ำโสม อำเภอหนองวัวซอ อำเภอกุดจับ อำเภอโนนสะอาด อำเภอวังสามหมอ อำเภอไชยวาน อำเภอหนองแสง อำเภอสร้างคอม อำเภอทุ่งฝน กิ่งอำเภอนายูง และกิ่งอำเภอพิบูลย์รักษ์
สภาพภูมิประเทศ สภาพพื้นที่ของ จ.อุดรธานี ลักษณะภูมิประเทศ โดยทั่วไปเป็นที่ราบสูง สูงกว่าระดับน้ำทะเล โดยเฉลี่ยประมาณ 187 ฟิต พื้นที่เอียงลาดลงสู่แม่น้ำโขง ทาง จ.หนองคาย ประกอบด้วยทุ่งนา ป่าไม้และภูเขา พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นดินทรายปนดินลูกรัง ไม่เก็บน้ำหรืออุ้มน้ำในฤดูแล้ง พื้นที่บางแห่งเป็นดินเค็ม ประกอบกสิกรรมไม่ค่อยได้ผลดี พื้นที่บางส่วนเป็นลูกคลื่นลอนลาด มีพื้นที่ราบผืนเล็กๆ แทรกอยู่กระจัดกระจาย พื้นที่ทางทิศตะวันตก มีภูเขาและป่าติดต่อกัน เป็นแนวยาว มีเทือกเขาสำคัญคือ เทือกเขาภูพานทอดเป็นแนวยาว ตั้งแต่เขตเหนือสุดไปจน จรดทางใต้สุดเขต จ.อุดรธานี มีลักษณะแบ่ง จ.อุดรธานี ออกเป็นสองส่วน มีความสูงจากระดับน้ำทะเล ประมาณ 200-700 เมตร
สภาพภูมิอากาศ ภูมิอากาศของภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ มีเทือกเขาล้อมรอบทาง ด้านตะวันออกและด้านใต้ ได้แก่ เทือกเขาเพชรบูรณ์และดงพญาเย็น อยู่ทางตะวันตก เทือกเขาสันกำแพงและ พนมดงรักอยู่ทางด้านใต้ ทำให้ฝนที่เกิดจากมรสุม ตะวันตกเฉียงใต้มีน้อย ส่วนมากเป็นฝนที่ เกิดจากพายุดีเปรสชั่น ที่เคลื่อนผ่านเข้ามาในระหว่าง เดือนสิงหาคม-กันยายน ค่าปานกลางของปริมาณน้ำฝน จ.อุดรธานี ประมาณปีละ 1,400-1,600 มิลลิเมตร สภาพอากาศค่อนข้างรุนแรง โดยจะร้อนจัดในฤดูร้อนและ อากาศหนาวจัดในฤดูหนาว ซึ่งในฤดูร้อนเคยมีอุณหภมิ สูงสุดถึง 43.9 องศาเซลเซียส และในช่วนฤดูหนาวเคยมี อุณหภูมิต่ำสุดถึง 2.5 อาศาเซลเซียส ในรอบ 18 ปีที่ผ่านมา ในช่วงปี พ.ศ. 2539 มีอุณหภูมิสูงสุด 39.2 องศาเซลเซียส ในเดือนมีนาคม 2539 อุณหภูมิต่ำสุด 7.0 องศาเซลเซียส ในเดือนมกราคม 2539 ปริมาณน้ำฝนรวมวัดได้ 1,844.8 มิลลิเมตร
อาณาเขตติดต่อ
ทิศเหนือ จดจังหวัดหนองคาย
ทิศใต้ จดจังหวัดขอนแก่น และกาฬสินธุ์
ทิศตะวันออก จดจังหวัดสกลนคร
ทิศตะวันตก จดจังหวัดหนองบัวลำภู และจังหวัดเลย
แผนที่แสดงที่ตั้งและอาณาเขต
การปกครอง
การปกครองแบ่งออกเป็น 18 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ 155 ตำบล 1,666 หมู่บ้าน 1 เทศบาล 150 องค์การบริหารส่วนตำบล และ 29 สุขาภิบาล ดังนี้
อำเภอเมือง
อำเภอหนองวัวซอ 39 กม.
อำเภอหนองหาน 35 กม.
อำเภอบ้านผือ 55 กม.
อำเภอบ้านดุง 84 กม.
อำเภอกุมภวาปี 43 กม.
อำเภอโนนสะอาด 53 กม.
อำเภอกุดจับ 24 กม.
อำเภอวังสามหมอ 96 กม.
อำเภอสร้างคอม 68 กม.
อำเภอทุ่งฝน 65 กม.
อำเภอไชยวาน 62 กม.
อำเภอหนองแสง 35 กม.
อำเภอเพ็ญ 43 กม.
อำเภอน้ำโสม 110 กม.
อำเภอนายูง 129 กม.
อำเภอศรีธาตุ 72 กม.
อำเภอพิบูลย์รักษ์ 63 กม.
กิ่งอำเภอกู่แก้ว 65 กม.
กิ่งอำเภอประจักษ์ศิลปาคม 36 กม.
โครงสร้างราชการบริหารส่วนภูมิภาคและท้องถิ่นในจังหวัด
การจัดองค์กรราชการบริหารส่วนภูมิภาค มี หน่วยราชการที่อยู่ในการกำกับดูแลของ ผู้ว่าราชการจังหวัด คือ ส่วนราชการต่างๆ ใน ระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน
ส่วนราชการใน ระดับจังหวัดเป็นหน่วยงาน 2 ลักษณะ คือ หน่วยราชการ บริหารส่วนภูมิภาคประจำจังหวัด และหน่วยราชการบริหาร ส่วนกลางในจังหวัด (ที่ขึ้นตรงต่อส่วนกลาง )
หน่วยราชการบริหารส่วนภูมิภาคประจำจังหวัดของ จังหวัดอุดรธานี มีทั้งสิ้น 32 หน่วยงาน สังกัดกระทรวงมหาดไทย 8 หน่วยงาน และสังกัดกระทรวง ทบวง กรมอื่นๆ อีก 24 หน่วยงาน
ส่วนหน่วยราชการบริหารส่วนกลางในจังหวัด มีทั้งสิ้น 67 หน่วยงาน เป็นหน่วยงานที่สังกัด กระทรวง ทบวง กรมอื่นๆ ทั้งสิ้น 53 หน่วยงาน หน่วยงาน ในสังกัดกระทรวงมหาดไทย 7 หน่วยงาน และหน่วยงานอิสระ 7 หน่วยงาน ส่วนการจัดองค์กรราชการบริหาร ส่วนท้องถิ่น มี 4 รูปแบบ คือ องค์การบริหาร ส่วนจังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล
แสดงโครงสร้างราชการบริหารส่วนภูมิภาคและท้องถิ่นในจังหวัดอุดรธานี
ราชการในจังหวัดที่ขึ้นตรงต่อส่วนกลางสังกัดกระทรวงมหาดไทย
(1) ศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชน เขตที่ 4
(2) สถานีตำรวจทางหลวง 3กองกำกับการ 4
(3) กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่24
(4) ศูนย์สื่อสาร เขต 5
(5) กองกำกับการ 4 กองบังคับการฝึกพิเศษ
(6) เรือนจำกลางอุดรธานี
(7) สำนักงานตำรวจสันติบาล 1 ภาค 4
กองกำกับการ 2 สันติบาล 1
ส่วนราชการระดับจังหวัดสังกัดกระทรวงมหาดไทย
(1) สำนักงานจังหวัด
(2) ที่ทำการปกครองจังหวัด
(3) ตำรวจภูธรจังหวัด
(4) สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด
(5) สำนักงานทีดินจังหวัด
(6) สำนักงานโยธาธิการจังหวัด
(7) สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทจังหวัด
(8) สำนักงานผังเมืองจังหวัด
ส่วนราชการระดับอำเภอ
(1) อำเภอ
(2) ตำบล
(3) หมู่บ้าน
ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น
(1) องค์การบริหารส่วนจังหวัด
(2) เทศบาล
(3) สุขาภิบาล
(4) องค์การบริหารส่วนตำบล